42549150270400678560481115324128567576238691n
3871476402752199820078567322436846607216716n
42286789670119361555279483463171686818857303n
3105259361156722846292942737894691627600100n
3099896181156721146293113132425686368419920n
3915413632786791383286078429743108016089215n
4255050453407647387867134614030423603948453n
4326611573659738695991338176702610741037220n
3863655962752201020078448263176628132948908n
33037512113627830245034564272478565241781049n
42287064470119358455279799087373019313802755n
42549150270400678560481115324128567576238691n
3871476402752199820078567322436846607216716n
42286789670119361555279483463171686818857303n
3105259361156722846292942737894691627600100n
3099896181156721146293113132425686368419920n
3915413632786791383286078429743108016089215n
4255050453407647387867134614030423603948453n
4326611573659738695991338176702610741037220n
3863655962752201020078448263176628132948908n
33037512113627830245034564272478565241781049n
42287064470119358455279799087373019313802755n

ข้อมูลทั่วไป

พิพิธภัณฑ์ชาวกูย (Kuy Museum) ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ (สระกู่) ศูนย์วัฒนธรรมปรางค์กู่ บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ คสล. ๒ ชั้น เพื่อสงวนรักษา วัตถุทางวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวกูย (Kuy Community) เก็บรวบรวมวัตถุสิ่งของในท้องถิ่น สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปหัตถกรรม และสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ นำเสนอและจัดแสดงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ชุมชนวัฒนธรรมชาติพันธุ์ชาวกูย สะสมอนุรักษ์สมบัติทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและชุมชนให้คงไว้ในแผ่นดินมิให้สูญสลายหายไป เป็นประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี


ข้อมูลการจัดแสดง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงดังนี้ 

      ราสาทปรางค์กู่  หรือที่ภาษากูย  เรียกว่า  เถียด เซาะ โก” เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูประจำชุมชน  ในวัฒนธรรมขอมโบราณหลักฐานทางโบราณคดี  สันนิฐานว่าเป็นลัทธิไวษณพนิกาย กล่าวคือลัทธิที่บูชาพระนารายณ์เป็นใหญ่ จากทับหลังพระนารายณ์ทรงครุฑ  ทับหลังพระรามพระลักษณ์ต้องศรนาคบาตร ประติมากรรมโกรนรูปเต่า และมีสระน้ำรอมรอบ  ปราสาทปรางค์กู่ประกอบด้วยปรางค์ ๓ หลัง เรียงกันตามแนวเหนือ – ใต้ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเดียวกัน  ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพิ่มมุมเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเพื่อสอดรับกับบันไดทางขึ้นลง ปราสาทั้งสามหลังก่อสร้างด้วยศิลาแลง  อิฐ  และหินทราย มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปตัวซี  ( C )  หันหน้าเข้าหากันเว้นทางเข้าออก ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทางเข้าบริเวณด้านทิศตะวันออกห่างออกไป ๒๐๐ เมตร เป็นบารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่

       สมุดข่อย หรือ สมุดไทย เป็นสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับที่เคยนิยมใช้ในวัฒนธรรมพุทธ ได้แก่ ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา, ประเทศลาว, ประเทศพม่า และประเทศศรีลังกา เทคนิคในการผลิตน่าจะมาจากราชอาณาจักรซีลอนโบราณ (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา) ส่วนใหญ่ทำมาจากข่อย โดยไม่เย็บเล่มเหมือนหนังสือตะวันตก แต่จะพับรวมกันแบบรอยพับ สมุดข่อยอาจทำมาจากกระดาษสีดำ (สมุดไทยดำ) หรือกระดาษขาว (สมุดไทยขาว) สมุดข่อยโบราณพบที่ วัดบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นสมุดโบราณที่เขียนด้วยอักษรไทยโบราณสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และอักษรขอมโบราณ ขอมไทย ในส่วนของภาษาไทยบันทึกเรื่องนิทานพื้นบ้าน  อักษรขอมโบราณ บันทัก บทสวดพระอภิธรรม บทสวดพระสหัสสนัย และการบรรยายเรื่องของการทำความดี หน้าปกยังพบภาพเขียนตำราโหราศาสตร์ ตำราพรหมชาติ การดูดวงแบบไทย ตำราต้นกล้วย  การดูดวงแบบขอมโบราณ

       - คัมภีร์ใบลาน  และผ้าห่อคัมภีร์ คัมภีร์ใบลาน เป็นบันทึกลายลักษณ์อักษรด้วยวิธีจารตัวหนังสือลงบนใบของต้นลาน แล้วเจาะรูร้อยหูด้วยสายสนองหรือเชือกมัดคัมภีร์มัดรวมกันเป็นผูก เนื้อเรื่องที่จารลงบนใบลาน ส่วนใหญ่เป็นพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎกหรือเรื่องที่เกี่ยวเนื่องด้วยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากเรื่องราวทางธรรมแล้ว คัมภีร์ใบลานยังบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวอันเกี่ยวกับทางโลก เช่น ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ วรรณกรรม พงศาวดาร กฎหมายโบราณ ตำรายา เวทมนตร์คาถา เป็นต้น ตัวอักษรที่พบในคัมภีร์ใบลานในแถบเอเชีย ได้แก่ อักษรเทวนาครี อักษรสิงหล อักษรขอม อักษรไทย อักษรพม่า และอักษรธรรมหรืออักษรตระกูลไท (ไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทขึน ไทน้อย และอักษรลาว) การจารหรือเขียนหนังสือลงในใบลานนั้น มีมาตั้งแต่โบราณกาล คัมภีร์ใบลานที่พบที่วัดบ้านกู่ จารเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา นิทานชาดก นิทานพื้นบ้าน บทสวด ตำรายาสมุนไพร คาถา บทสวดต่างๆ ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน  ที่พบเป็นผ้าปักโบราณ ด้านในประกบด้วยไม้ไผ่สาน และพบเป็นผ้าไหมพื้นบ้าน


ส่วนที่ 2 อาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงดังนี้

       - ชนชาติพันธุ์กูย “กูย” เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของกัมพูชา ตอนใต้ของลาว และทางภาคอีสานของไทย โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวกูยอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด คำว่ากูย คือ กูย กวย หรือโกย ซึ่งแตกต่างออกไปตามชื่อเรียกที่ละถิ่นนั้นมีความหมายว่า “คน” เช่นเดียวกันกัน

       - ศาลปะกำและเชือกปะกำ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกูยให้ความเคารพและเซ่นไหว้ก่อนออกคล้องช้างหรือทำกิจกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับช้าง  ศาลปะกำ สถานที่เปรียบเสมือนเทวาลัยอันเป็นที่สิงสถิตวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำตามความเชื่อของชาวกูย

       ประเพณีวัฒนธรรมของชาวกูย 

          ประเพณีแซนเหลียน (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) เหลียน คือ ลานนวดข้าว เมื่อชาวนากูยนำข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางแล้ว ก็จะมีการเซ่นไหว้ลาน (แซนเหลียน) เพื่อบอกกล่าวแก่พระแม่ธรณี พระแม่โพสพ เทวดาอารักษ์ ผีไรผีนา ให้ทราบและขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคลอยู่เย็นเป็นสุขแก่ครอบครัว และเป็นการทำนายถึงฤดูกาลในปีต่อไปว่าผลผลิตจะดีขึ้นหรือไม่ เครื่องแซนเหลี่ยน ประกอบด้วย ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง (ไข่ไก่ใหม่) ธูป เที่ยน ดอกไม้ หมาก พลู น้ำส้ม ขนม ผลไม้ บุหรี่ เหล้า น้ำสะอาด ข้าวเปลือก ๑ กระบุง กองไว้ทุกมุมของลานและกลางลาน จะทำพิธีในที่นาของแต่ละครอบครัว  ในช่วงเวลาประมาณ หกโมงเช้า จะนำปุ๋ยคอกไปด้วยกองไว้ตามมุมลาน เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้แล้ว ก็จะปอกเปลือกไข้ดู (แหม แถ๋น แขล๊ล ขลุ๊ย) ถ้ามีลักษณะสมบูรณ์ มีนูนตรงกลาง ทายว่าฤดูกาลในปีต่อไปจะได้ผลผลิตที่ดี ครอบครัวจะมีแต่ความสงบสุข หลังจากนั้นก็จะนำข้าวเปลือกบางส่วนเรียกขวัญนำไปขึ้นยุ้งฉางต่อไป

         ประเพณีแซนหลาว (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) แซนหลาว คือ การเซ่นยุ้งฉาง  ชาวกูย เมื่อนำข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางก็จะเอาใบคูณใบยอเสียบตามเสายุ้งฉางด้านใน (ให้ค่ำคูน ให้ยกให้ยอขึ้น) ก่อนจะนำข้าวออกมาใช้ในการบริโภคหรือจำหน่ายแจกจ่ายจะต้องมีการเซ่นไหว้ยุ้งฉางก่อนจึงจะเอาข้าวเปลือกลงจากยุ้งฉางได้

         ประเพณีแซนญะจู๊ฮ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) ประเพณีแซนญะจู๊ฮ หรือเรียกว่า ประเพณีเซ่นปู่ต่า ภาษากูยจะเรียก “แซนเผาะหญะ” เป็นประเพณีของชาวกูยที่มีมาแต่อดีตกาลเมื่อสมัยก่อนผู้คนมีความเชื่อเรื่องเทวดา ผีสางนางไม้และสิ่งศักดิ์สิทธิที่เหนือธรรมชาติ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสมัยก่อนโดยมีความเชื่อว่าก่อนที่จะทำการมงคลหรือการทำไร่นาต้องดูกำหนดวัน เดือน ปี ฤกษ์งามยามดี เพื่อมาประกอบพิธีหรือมาทำการมงคลต่างๆ ซึ่งชาวกูยสมัยโบราณเชื่อถือกันมากและประเพณีการเซ่นไหว้ดังกล่าวก็จะมีปีละ ๓ ครั้ง 

         ประเพณีหวัวบุญเบิกฟ้า (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓) ในช่วงเวลาวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี (อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์)

             เป็นประเพณีของชุมชนชาวกูยบ้านกู่ที่ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่าเมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอกตัวกำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยงการเกษตรในปีนั้น ๆ ตำนานโบราณกล่าวถึงทิศที่ฟ้าร้องดังนี้

            ทิศบูรพา มีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูน้ำ ถ้าฟ้าร้องทิศนี้ฝนจะดี ข้าวกล้าในนาจะอุดมสมบูรณ์ คนทั้งปวงจะได้ทำบุญให้ทานอย่างเต็มที่

            ทิศอาคเนย์ มีแมวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูลม ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะน้อย นาแล้ง คนจะอดอยาก และเกิดโรคระบาด

            ทิศทักษิณ มีราชสีห์เป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูทอง ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะมาก น้ำจะท่วมข้าวกล้าในนาเสียหายถึงสองในห้าส่วน นาลุ่มเสีย นาดอนดี มีปูปลาอุดมสมบูรณ์

            ทิศหรดี มีเสือเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูตะกั่วหรือประตูชิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะดี น้ำงามพอเหมาะ ผลหมากรากไม้อุดม ปูปลามีมาก ข้าวกล้าบริบูรณ์ ผู้คนมีความสุข

           ทิศปัจจิม มีนาคเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเหล็ก ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะแล้ง น้ำน้อย ข้าวกล้าในนาแห้งตายเสียหายหนัก

           ทิศพายัพ มีหนูเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูหินถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะตกปานกลาง ข้าวกล้าได้ผลกึ่งหนึ่ง เสียหายกึ่งหนึ่ง ปูปลามีน้อย คนจักป่วยไข้

           ทิศอุดร มีช้างเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเงิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดี ข้าวกล้าในนางอกงามดี คนมีสุขทั่วหน้า

           ทิศอีสาน มีวัวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูดิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดีตลอดปี ข้าวกล้าในนาจะงอกงามสมบูรณ์ดีคนจะมีความสุขเกษมตลอดปีอย่างถ้วนหน้าด้วยความเชื่อตามตำนานดังกล่าว จึงมีประเพณีบุญเบิกฟ้า (เดิมเรียกว่าบุญเบิกบ้าน) เพื่อขอพรจากแถน (เทพผู้เป็นใหญ่) ให้ไขประตูฟ้าทางทิศที่เป็นมงคล อนึ่งในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ จะมีปรากฏการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น ๓ อย่างคือ กบไม่มีปาก คือจะมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นปิดรูกบเป็นอันว่าวันนั้นกบจำศีล ไม่ฆ่าสัตว์อื่น ๆ เป็นอาหาร นากไม่มีรูทวาร คือมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นปิดทวารหนักของตัวนาก เป็นอันว่านากจะไม่ขับถ่ายในวันนั้น เพราะไม่ได้กินอาหาร และมะขามป้อมจะมีรสหวาน

         ประเพณีแซนแซงแซ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖) เมื่อถึงฤดูเริ่มลงทำนา ชาวกูยจะมีประเพณีแซนแซงแซในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ทำที่ปราสาทปรางค์กู่ เพื่อบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณบ้านกู่ ซึ่งมีพ่อปู่พัทธเสนในปราสาทปรางค์กู่ เทวดาอารักษ์ เจ้าที่ ที่นาที่ไร่ต่างได้รับทราบว่าได้ลงไร่ลงนาตามฤดูกาล ได้อำนวยอวยพรให้ลูกหลานทำไร่ทำนาอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญ ก่อนจะมีการเซ่นไหว้ก็จะมีการขอขมาพ่อปู่พัทธเสนปราสาทปรางค์กู่ก่อน เมื่อเซ่นไหว้เสร็จก็จะมีการขอดูคางไก่ เป็นการทำนายผลผลิตที่กำลังจะลงมือปักดำ

         แซนซ๊ากชาวกูย (เดือน ๑๐) เป็นประเพณีของชุมชนชาวบ้านกู่ บ้านอาต็อง บ้านสนวน ขยูง ที่สืบทอดกันมายาวนาน จะทำช่วงเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จะทำทุกปี เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ให้กับบรรพบุรุษและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว ช่วงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ชาวบ้านจะเตรียมของเครื่องเซ่นไหว้เอาไว้หนึ่งวัน เช่น การห่อข้าวต้ม ต้องเตรียมข้าวเหนียว ใบตอง ใบมะพร้าว ลูกมะพร้าว กล้วยสุก และของอื่นๆ อีกที่ต้องการใส่ ส่วนผลไม้ส่วนมากจะซื้อมาจากตลาด เช่น ส้ม ชมพู่ ส้มโอ และอื่นๆอีกมากมาย หมากพลู ส่วนเครื่องเซ่นไหว้มี ไก่ต้ม ปลาย่าง หมูย่าง ขนมกระยาสาทร เหล้า เบียร์ น้ำส้ม สาโท เมื่อเตรียมของเซ่นไหว้ครบแล้ว ตอนเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เอากระด้งหรือผ้าขาวมาวางแล้วเอาเครื่องเซ่นไหว้มาวางให้ครบทุกอย่างเรียบร้อยแล้วพิธีเซ่นไหว้ก็เริ่มขึ้น ลูกหลานจุดธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม เพื่อถวายข้าวพระพุทธรูปเสร็จแล้วลูกหลานจุดธูปคนละ ๑ ดอกเพื่อบอกกล่าวดวงวิญญาณ ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้ล่วงลับไปแล้วให้รับ/กินเครื่องเซ่นไหว้โดยจะมีคำพูดบอกล่าวเป็นภาษากูยว่า (เจาเด้อ หนุเฒา แมะเฒา หนุไฮ แมะไฮ เจาจาเจาหงวย อาปี อาปา อามาด อาหยี่ อาเนาะ อานาง เจาเย้อ” (ภาษากูย)

       หิ้งมอ หิ้งออ เป็นหิ้งผีบรรพบุรุษของชาวกูยที่เคารพนับถือบูชา เป็นของรักษาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อๆ กันมาตามอายุคนหลายร้อยหลายพันปี ถือเป็นการบูชาบรรพบุรุษในสายตระกูล ที่คอยปกปักรักษาลูกหลาน ให้อยู่เย็นเป็นสุข หากเกิดเจ็บไข้ไม่สบายหรือเกดเรื่องไม่ดีขึ้นกับคนในครอบครัว ก็จะบนบานศาลกล่าว ขอให้หายจากเจ็บป่วย หรือเกิดเรื่องไม่ดีก็ขอให้กลายเป็นเรื่องที่ดี เมื่อหายก็จะร่ายรำบูชา โดยจะทำการรำทั้งวัน ทั้งคืน และหากลูกหลายทำผิดผี ผิดประเพณี ผิดธรรมเนียม ไม่รับบูชา ไม่บูชาบรรพบุรุษ  ลูกหลานทะเลาะเบาะแว้งกันไม่ลงลอยกัน ผีบรรพบุรุษก็จะลงโทษ โดยการทำให้คนในสายตระกูลเกิดเรื่องไม่ดี หรือเจ็บป่วย

       - แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีบ้านศรีไผทราษฎร์ ที่ตั้ง บ้านศรีผไททราษฎร์ หมู่ที่ ๑๖ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ปี  พ.ศ. ๒๕๕๓  ชาวบ้านศรีไผทราษฎร์  หมู่ที่ ๑๖ ตำบลกู่  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ได้ขุดพบราณวัตถุโดยบังเอิญบริเวณทุ่งนาใเขตหมู่บ้าน  เป็นไหดินเผาเคลือบเนื้อแกร่ง  สีน้ำตาลเทา  ภายในบรรจุพระพุทธรูปเนื้อว่านและเนื้อว่านหุ้มโลหะหลายองค์ นักโบราณคดีที่เข้าตรวจสอบโบราณวัตถุ  สันนิฐานว่า  เป็นไหศิลปะขอม  นิยมผลิตกันในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๒ หรือเมื่อ ๘๐๐ – ๔๐๐ ปีมาแล้ว  การนำพระพุทธรูปบรรจุภาชนะแล้วนำไปฝังดิน เป็นไปตามความเชื่อเรื่องการสืบทอดพระพุทธศาสนา  สันนิฐานว่าน่าจะฝังเมื่อประมาณ ๔๐๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว

       - ดุงกูย (บ้านชาวกูย) การอยู่อาศักของชาวกูยอยู่แบบเรียบง่าย เดินบ้านดุงกูย จะสร้างจากไม้หลังคามุงจาก  ผ้าบ้านเป็นไม้ไผ่สานควบกับใบตะแบง บ้างก็เป็นฝาไม้แล้วแต่ฐานะของเจ้าของบ้าน  ใต้ถุนบ้านสูงมีชานหน้าบ้าน  บ้านแต่ละหลังก็ขนาดเล็กใหญ่ขึ้นอยู่กับสมาชิกในบ้าน ชั้นบนจะเป็นที่อยู่อาศัยหลับนอน ประกอบอาหาร และที่พักผ่อน ชั้นล่างจะเป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงส่วนหนึ่ง และ เป็นที่เลี้ยงไหมทอผ้าส่วนหนึ่ง

       - เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวกูย เครืองมือเครื่องใช้ของชาวกูย ซึ่งได้รับมอบจากชุมชนเป็นจำนวนมาก

       การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า สานต่อภูมิปัญญาบรรพบุรุษ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสมาชิกในครอบครัว  คืออีกหนึ่งวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวกูย เมื่อว่างจากนาไร่ หญิงชาวกูยจะทอผ้าไหมไว้ใช้  โดยแม่จะเป็นผู้ถ่านทอดวิชาการทอผ้าไหมด้วยกี่มือให้ลูกสาวสืบต่อกันเป็นรุ่นๆ  จุดเด่นของผ้าไหมคือ หน้าร้อนสวมใส่แล้วจะเย็นสบาย หน้าหนาวสวมใส่แล้วจะอบอุ่น สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาส ในปัจจุบันการทอผ้าไหมเป็นงานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวกูย สตรีชาวกูย เป็นผู้มีความสามารถในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อว่างเว้นจากอาชีพการทำนา ทำไร่แล้ว ก็จะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อใช้ในการทอผ้าสำหรับไว้นุ่งห่มภายในครอบครัวของตนเอง ซึ่งการผลิตผ้าไหมนั้น ชาวกูยทำกันแบบครบวงจร คือทุกขั้นตอนจะทำด้วยมือของตนเอง ดังนั้นการแต่งกายของชาวกูยก็จะนิยมแต่งกายด้วยผ้าไหมพื้นเมืองเป็นหลัก และยังนำมาจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัวและชุมชนอีกด้วย

       - อาหาร ขนมพื้นบ้านชุมชนชาวกูย ชาวกูยเป็นชาติพันธ์ที่อยู่กับธรรมชาติการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ด้านอาหารการกินชาวกูยรับประทานข้าวเจ้าเป็นหลัก กับข้าวส่วนใหญ่ก็หาได้ง่ายในชุมชน  และท้องไร่ท้องนา  อาหารคาวส่วนใหญ่มักใส่กระทิเป็นส่วนประกอบด้วยซึ่งจะแตกต่างจากอีสานที่ทานข้าวเหนียวกับข้าวไม่ใส่กะทิ  อาหารชาวกูยที่โดดเด่นคือ แกงละแวกะตาม (แกงมันปู) แกงเทา (สาหร่ายน้ำจืด) แกงหอย


facebook : พิพิธภัณฑ์ชาวกูย

โทรศัพท์ : 093-2296699, 091-3392201

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

หนังสือราชการ สถ.